ปาร์ตี้บ้านอนุทิน ไม่ใส่หน้ากาก โซเชียลเดือด ก่อนหน้า โทษประชาชนละเลยมาตรการ

ปาร์ตี้บ้านอนุทิน ไม่ใส่หน้ากาก โซเชียลเดือด ก่อนหน้า โทษประชาชนละเลยมาตรการ

ปาร์ตี้บ้านอนุทิน ไม่ใส่หน้ากาก โลกโซเชียลเดือด ถล่มยับ บอกเฝ้าระวังคลัสเตออร์ โควิด ติงประชาชนละเลยมาตรการ แต่คิวตัวเองดันสวนทาง ดราม่า “ปาร์ตี้บ้านอนุทิน” ไม่ใส่หน้ากาก โลกออนไลน์วิจารณ์ยับ หลังเมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา “เป๊ก” เศรณี ลูกชาย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ภาพปาร์ตี้ปีใหม่ ไม่สวมหน้ากาก ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ออกมาให้สัมภาษณ์กรณีการแพร่ระบาดของโควิด19 เที่ยวล่าสุด เพราะประชาชนละเลยมาตราการคุมโรคจนยอดผู้ติดเชื้อพุ่ง

ก่อนหน้านี้ นายอนุทิน ออกมาพูดถึงปมการแพร่โควิด 19 หลายคลัสเตอร์ในช่วงวันปีใหม่ที่ผ่านมา 

โดยมีการกล่าวถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดที่เพิ่มสูงขึ้น จากคลัสเตอร์ร้านอาหาร สถานบันเทิงว่า เมื่อมีผู้ละเลยมาตรการ การติดเชื้อย่อมเกิดขึ้นได้ ผู้ที่ละเลยมีตั้งแต่ผู้ประกอบการ ไปจนถึงผู้มาใช้บริการ ถ้าคิดแต่เรื่องสนุกไม่คำนึงถึงคนอื่น ก็ย่อมสร้างความเดือดร้อนให้ส่วนรวม ทำให้ผู้ติดเชื้อพุ่งหลัก 3 พันคน

ล่าสุด (6 ม.ค.65) โลกออนไลน์มีการแชร์ภาพ ปาร์ตี้ฉลองเคานต์ดาวน์ของครอบครัวนายอนุทิน โดยเป๊ก เศรณี ลูกชาย เป็นคนโพสต์ภาพลงอินสตาแกรม ซึ่งจากภาพนิ่งที่ปรากฏ ส่วนใหญ่ไม่มีใครสวมใส่หน้ากากอนามัย บางคนใส่ แต่สวมหน้ากากไว้ใต้คาง ไม่มีการเว้นระยะห่าง ปาร์ตี้ใกล้ชิดกัน ภายใต้ใบหน้าอันสนุกสนานของคนที่อยู่ในรูป

ภาพเหล่านี้กลายเป็นประเด็นที่ชาวเน็ตหยิบยกมาวิจารณ์กันจำนวนมาก ยิ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบกับคำพูดที่ รมว.สาธารณสุข วิจารณ์ถึงการแรพ่ระบาดของคลัสเตอร์โควิดรอบก่อนหน้า ยิ่งทำให้ถูกมองว่า กลายเป็นคนของรัฐบาลเองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการเสียเอง

ตัวอย่างความเห็นของผู้ใช้บัญชีทวิตเตอร์ท่านหนึ่ง แสดงความเห็นว่า จะบอกว่าแค่ถ่ายรูปเลยต้องถอดหน้ากากไม่ได้ เพราะจากภาพที่เห็น ผู้คนด้านหลังที่มาร่วมฉลองก็ไม่มีใครสวมใส่หน้ากาก กันโควิดเลย แล้วนายอนุทิน ก็เพิ่งออกมาบอกประชาชนเห็นแก่ตัว ไม่เคารพมาตรการเลยทำให้ติดเชื้อ ก่อนที่ชาวเน็ตท่านนี้จะทิ้งท้ายว่า “ขอบคุณนะคะที่กล้าจะสอนหนู”

ดร.อนันต์ เห็นต่าง โอมิครอน รุนแรงกว่าที่คิด แนะอย่าวางใจ ใช่ว่าป่วยไม่หนักทุกคน แต่อัตราเสียชีวิตสูง แม้ฉีดวัคซีน 3 เข็ม

6 ม.ค. 65 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Anan Jongkaewwattana” โดยกล่าวถึง เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่ติดสายพันธ์ุนี้แล้วไม่เป็นอะไร  ไม่ใช่ทุกคนที่โอมิครอนจะเข้าไปทำลายเซลล์ปอดไม่ได้ เป็นเรื่องเสี่ยงมากๆ ถ้าปล่อยให้เชื้อกระจายไปอย่างกว้างขวางโดยไม่ป้องกัน ขณะนี้ผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและอาจก่อความรุนแรงได้หนักไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่น

ดร.อนันต์ ยังย้ำถึงตัวอย่างผู้ติดเชื้อในประเทศอังกฤษ ที่มีผู้ติดเชื้อหลักร้อยต่อวัน ซึ่งผู้คนอาจมองว่าน้อยแต่อัตราเสียชีวิตของผู้คนจากโอมิครอนในอังกฤษกลับสูงถึง 10 % แม้ว่าประเทศอังกฤษมีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ไปแล้วกว่า 61 %

ย้อนกลับมาประเทศไทย ที่มีผู้คนหลายฝ่ายมองว่า โอมิครอน อาจไม่ได้รุนแรง และก่อความเสียหายแก่ชีวิตเหมือนสายพันธุ์อื่นๆ ประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงมากคือ “ภูมิคุ้มกันหมู่” ซึ่งทาง ดร.อนันต์เองก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ถึงแม้คนจะเข้าโรงพยาบาลน้อยลงจาก โควิดสายพันธ์ุโอมิครอน แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้คนยังคงสูงอยู่ “ภูมิคุ้มกันหมู่”  จะเกิดหรือไม่เกิดเป็นสมมติฐานที่ยังต้องรอการพิสูจน์

สรรพากรลั่น! คนละครึ่ง ต้องยื่นเสียภาษีไหม

สรรพากรตอบชัด ประชาชนเข้าร่วม “คนละครึ่ง” รวมถึง “พ่อค้า แม่ค้า” ในโครงการ ต้องยื่นเสียภาษีประจำปี 2564 หรือไม่ ? 1 ม.ค.- 8 เม.ย. 2565 นี้ ถึงช่วงเวลา “ยื่นภาษี 2564” สำหรับผู้มีเงินได้ในปีภาษี 2564 สามารถ “ยื่นภาษี” ผ่านระบบออนไลน์ได้แล้ว คำถามประเด็นสำคัญ คือ ผู้ที่ได้รับเงินจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐ เช่น “คนละครึ่ง” อาจสับสนว่าเงินส่วนนี้ต้องนำไปคำนวณเพื่อ “เสียภาษี” ด้วยหรือไม่ ?

เว็บไซต์ สรรพากร ระบุว่า สําหรับ ผู้ที่ได้รับสิทธิคนละครึ่ง ไม่ว่าจะเฟสใด ถือเป็นรายได้ที่ต้องนําไปรวมคํานวณเสียภาษีเงินได้

ซึ่งคณะรัฐมนตรี และกระทรวงการคลังเห็นชอบให้ยกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา สําหรับประชาชนที่ได้รับเงินจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล โดยกรมสรรพากร อยู่ระหว่างร่างกฎหมายเสนอต่อไป โดยจะมีการยกเว้นภาษีสําหรับเงินที่ได้รับ ในปีภาษี 2563 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ในปี 2564 และเงินได้ที่ได้รับในปีภาษี 2564 ซึ่ง ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในปี 2565

ส่วน พ่อค้า แม่ค้า ที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง จะต้องเสียภาษีหรือไม่?

-สําหรับพ่อค้าแม่ค้า ที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งจะต้องมีภาระภาษี โดย “รายได้จากการขาย”คือ ยอดขายปกติ และ “ยอดขายคนละครึ่ง” ซึ่งหมายถึง ยอดขายทั้งส่วนที่ได้รับ จากลูกค้าและส่วนที่ได้รับจากรัฐ รายได้ดังกล่าว ถือเป็น “เงินได้พึงประเมิน” ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

นอกจากนี้ หากพ่อค้า แม่ค้าท่านใด มีรายรับมากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนําส่งให้กรมสรรพากรด้วย